Monitoring Based Commissioning (MBCx)

Monitoring based commissioning คือ กระบวนการตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศโดยการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานจากเครื่องมือตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาหาปัญหาที่เกิดจากการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ตรงตามที่ผู้ออกแบบกำหนด, ความผิดพลาดของการติดตั้งอุปกรณ์, และการขาดความรู้และเข้าใจในการจัดการระบบควบคุมอาคาร ทำให้ระบบทำงานไม่ได้ตามที่ควรจะเป็น หลังจากวิเคราะห์หาความผิดปกติแล้ว ข้อมูลที่ได้มาจะถูกนำมาพัฒนา Simulation Model เพื่อหาจุดเหมาะสมของการทำงาน ก่อนนำค่าที่ได้มาไปใช้กับระบบจริง ในระหว่างนี้ก็จะมีการติดตามและตรวจเช็คการตอบสนองของการปรับระบบ Monitoring-based Commissioning นี้ก็จะมีการตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับการ Commissioning ปกติที่มักจะทำเพียงครั้งเดียวก่อนส่งมอบอาคาร โดยกระบวนการ MBCx มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

mbcx_flowchart

Step 1 : Building Information

การรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การใช้พลังงานใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูง ระบบ MBCx แก้ปัญหาโดยการใช้ Building Information Modeling (BIM) ที่บันทึกข้อมูลการออกแบบและข้อมูลการทดสอบการทำงาน ของระบบ เชื่อมต่อเข้ากับระบบอาคารอัตโนมัติ (BAS) เดิมของแต่ล่ะอาคาร ทำการส่งข้อมูลเพื่อประมวลผลบน Cloud Platform

Step 2 : Building Energy Benchmarking

Building Energy Benchmarking เป็นการตรวจสอบพลังงานต่อพื้นที่ เพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้น เพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การใช้พลังงานตามอาคารประเภทต่าง ๆ ระบุโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือสามารถตรวจสอบด้วย Offline Analysis เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบปรับอากาศขนาดใหญ่เบื้องต้น

Step 3 - Automated Fault Detection and Diagnosis

นวัตกรรม Automated Fault Detection and Diagnosis (AFDD) คือแพลตฟอร์มการวินิจฉัยแบบ Real-time พัฒนาจาก Big Data ของระบบอาคารขนาดใหญ่ และงานวิจัยมากกว่า 20 อาคาร สามารถระบุสาเหตุการสูญเสียพลังงานและทำนายการซ่อมบำรุงล่วงหน้าโดยรักษาความสะดวกของผู้ใช้อาคาร สามารถเชื่อมต่อกับระบบ BAS ได้ทุกยี่ห้อ ขยายขอบเขตการตรวจวัดด้วย ระบบ Automated Calibration IoT Platform เรียนรู้พฤติกรรมระบบจาก Machine Learning และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถวินิจฉัยความผิดพลาดได้มากกว่า 16 ชนิด นำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดจากการสูญเสียพลังงานแบบยั่งยืน ตั้งแต่ความผิดพลาดจากการออกแบบ ความผิดพลาดจากการติดตั้ง จนถึงความผิดพลาดจากการควบคุม

Step 4 - Energy Saving Measures Implementation

สร้างแบบจำลอง Simulation เพื่อใช้เปรียบเทียบกับการประเมินพลังงานที่สถานะจริง มีความแม่นยำมากกว่า 90% เพื่อประเมินการประหยัดพลังงานก่อนการปรับปรุงจริง

Step 5 - Actual Saving Analysis

การปรับปรุงโดยแนะนำผู้ดูแลอาคารสามารถบริหารจัดการ เช่น การเลือกอุณหภูมิน้ำออกจากคอนเดนเซอร์ อุณหภูมิการทำน้ำเย็นของเครื่องทำน้ำเย็น การตั้งการทำงานของหอทำความเย็น การปรับรอบการทำงานของปั๊มน้ำและภาระการทำงานของเครื่องทำน้ำเย็นโดยแจ้งผลการปรับปรุงแบบ real-time เทียบกับ Simulation เดิม เพื่อการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพที่สูงที่สุด